บริการล้างหัวฉีดเบนซิน

การล้างทำความสะอาดหัวฉีดในเครื่องยนต์เบนซินเป็นการบำรุงรักษาอย่างหนึ่งที่คนใช้รถส่วนใหญ่ไม่ทราบ จริงๆแล้วการล้างหัวฉีดควรล้างทุกๆระยะ เนื่องจากส่วนใหญ่เราจะไม่ทราบว่าหัวฉีดทำงานปรกติดีหรือไม่ แต่ประสิทธิภาพในการทำงานอาจลดลงโดยไม่แสดงอาการให้เห็น และเราจะทราบก็ต่อเมื่อมีอาการให้เห็นซึ่งหมายถึงหัวฉีดเริ่มมีปัญหามากแล้ว…

ทำไมต้องล้างหัวฉีด ?

หัวฉีดที่ผ่านการใช้งานมาระยะหนึ่งจะเกิดเขม่า และคราบยางเหนียวติดอยู่ที่บริเวณปลายหัวฉีด นอกจากนี้สิ่งสกปรกที่เข้ามาในตัวหัวฉีดเอง อันเนื่องมาจากน้ำมันเชื้อเพลิงที่สกปรก สิ่งเหล่านี้ทำให้การทำงานของหัวฉีดทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ การฉีดน้ำมันไม่เป็นฝอยละออง หรือมีการรั่วซึม แม้การเปิดของตัวหัวฉีดมีระยะเวลาปกติ แต่น้ำมันที่ถูกฉีดออกมาอาจมีปริมาณไม่พอดีกับที่เคยฉีดตามสเปคทำให้เครื่องยนต์แรงตก เวลาออกตัวเครื่องจะสั่น กินน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น เครื่องเดินไม่เรียบเพราะแต่ละสูบทำงานได้ไม่เท่ากัน ทำให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เกิดมลพิษสูง

รถที่ติดตั้งระบบเชื้อเพลิงร่วมกับแก๊ส LPG/NGV – ในปัจจุบันรถจำนวนไม่น้อยหันมาติดตั้งระบบเชื้อเพลิงร่วมกับแก๊ส LPG/NGV ยิ่งต้องดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากการใช้แก๊ส โดยไม่ได้ใช้นำมันเลยหรือใช้น้ำมันน้อยมาก น้ำมันในถังจะเกิดการตกตะกอนและเป็นแหล่งสะสมสิ่งสกปรกในถัง จนกระทั่งน้ำมันที่สกปรกนี้ได้ส่งผลกระทบทำให้หัวฉีดอุดตันหรือปั๊มติกพังได้ อาการคือเมื่อใช้แก๊สเครื่องเดินเบาปกติแต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้น้ำมันเครื่องเดินเบาสั่น จึงควรมีการใช้น้ำมันและแก๊สสลับกันเป็นระยะๆเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ อย่าไรก็ตามหากเกิดปัญหาแล้วก็สามารถแก้ไขได้โดยการถอดหัวฉีดออกมาทดสอบ และล้างได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหัวฉีดแต่อย่างใด

เช็คสภาพหัวฉีด

การถอดหัวฉีดมาเช็คบนเครื่อง Carbon Zapp จะช่วยให้เราเห็นรูปแบบการฉีดของน้ำมันจากหัวฉีด ว่าเป็นฝอยละอองละเอียดดีอยู่ หรือว่าเริ่มมีเป็นหยดผิดปกติ การทดสอบสามารถทำให้เราทราบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในสภาวะรอบเครื่องต่าง ๆ ระดับ เพื่อวิเคราะห์การทำงานของหัวฉีด ว่าแต่ละหัวฉีดน้ำมันออกมาในปริมาณที่เหมาะสมหรือไม่ มีหัวใดที่ฉีดมากหรือน้อยกว่าปกติหรือไม่

เราเช็คอะไรบ้าง ?

  • เริ่มต้นด้วยการทำความสะอาดหัวฉีดเบื้องต้น
  • ทดสอบความต้านทานของขดลวดของ coil แต่ละหัว
  • เช็คการรั่วของหัวฉีด ทดสอบการฉีด (Spray) ว่าเป็นฝอยดีไหม โดยจำลองการฉีดตั้งแต่ 800-7000 รอบ (RPM)
  • วัดปริมาตรการฉีด
  • และขั้นตอนสุดท้ายคือการล้างด้วย Ultrasonic

ล้างด้วยระบบ Ultrasonic ดีอย่างไร ?

ในหลาย ๆ กรณี ที่เราพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหัวฉีดเหล่านี้ ถ้าอาการยังไม่รุนแรงมากถึงขนาดมีความเสียหายเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ภายในหัวฉีด เราอาจจะสามารถแก้ไขให้หัวฉีดกลับคืนสู่สภาพปกติใช้งานได้ ด้วยเพียงการล้างทำความสะอาดด้วยระบบ Ultrasonic ซึ่งจะใช้เคมีผสมกับระบบคลื่นนอัลตราโซนิคซึ่งมีระบบปรับย่านคลื่นความถี่อัตโนมัติ (Automatic Sweep Technology) ระหว่าง 31-42 kHz ซึ่งเป็นการล้างที่มีประสิทธิภาพสูงในการทำความสะอาดรูฉีดน้ำมันและส่วนภายนอกของหัวฉีด

ควรเช็คและล้างหัวฉีดเบนซินเมื่อไร ?

สามารถทำการบำรุงรักษาโดยการทำความสะอาดด้วยวิธีดังกล่าวทุก ๆ 50,000 กิโลเมตร เพื่อหัวฉีดที่มีสภาพพร้อมสำหรับการใช้งานอยู่เสมอ ทั้งยังช่วยประหยัดน้ำมัน และรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

อัตราค่าบริการ

  • เช็ค 250 บาท/หัว
  • เช็ค-ล้าง 450 บาท/หัว
บริการล้างหัวฉีด GDI

GDI หรือ Gasoline Direct Injection คือ เครื่องยนต์เบนซินที่พัฒนาเรื่องระบบจ่ายเชื้อเพลิงเป็นแบบฉีดตรงเพื่อให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้น มีการออกแบบลูกสูบใหม่ เพิ่มพื้นที่กระบอกสูบให้กว้างขึ้น และเปลี่ยนตำแหน่งของหัวฉีดมาอยู่ด้านบนของห้องเผาไหม้ ทำให้ละอองเชื้อเพลิงกระจายตัวได้ดีกว่า
หัวฉีดแบบ GDI เป็นหัวฉีดแรงดันสูง ระบบการฉีดตรงนั้นมีการระเบิดที่เร็วขึ้น เกิดแรงอัดที่มากกว่าทำให้เครื่องร้อนมากและร้อนเร็วกว่าเครื่องแบบเก่า ในขณะเดียกันก็ให้พละกำลังที่แรงกว่าในขนาดเครื่องยนต์เท่ากัน

ทำไม่ต้องล้างหัวฉีด GDI ?

ด้วยเหตุผลที่หัวฉีด GDI ปลายของหัวฉีดคือส่วนหนึ่งในห้องเผาไหม้ จึงมักเกิดการอุดตันที่ปลายหัวฉีดเนื่องจากคราบเขม่าที่หลงเหลือจากการเผาไหม้ อีกประการหนึ่งหัวฉีดจะมีรูจ่ายน้ำมันที่เล็กมาก และแรงดันเชื้อเพลิงค่อนข้างสูง เพื่อจะจ่ายน้ำมันให้เป็นฝอยละอองมากที่สุด การอุดตันเพียงเล็กน้อยจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ได้จึงต้องการเชื้อเพลิงที่สะอาดและการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันความเสียหายของหัวฉีด ผู้ใช้รถทั่วไปอาจจะไม่รู้ถึงอาการหัวฉีดที่เริ่มมีปัญหาจนกว่าจะมีอาการชัดเจนที่ส่งผลให้เครื่องยนต์มีอาการสะดุด กำลังเครื่องตก กินน้ำมัน หรือมีไฟรูปเครื่องยนต์แสดงค้างที่จอแสดงผลบนหน้าปัดรถยนต์ ณ จุดนั้นหัวฉีดอาจเสียหายมากจะต้องเปลี่ยนหัวฉีดใหม่ ซึ่งราคาหัวฉีดใหม่ เป็นอะไรที่ปวดใจ และเราสามารถหลีกเลี่ยงเหตุการณ์แบบนี้ได้ การเช็ค-ล้างหัวฉีด GDI จึงมีความจำเป็นเพราะการเช็ค จะเป็นการตรวจสอบประสิทธิภาพของหัวฉีดว่าสามารถทำงานเต็มประสิทธิภาพหรือไม่ มีชิ้นส่วนไหนบ้างที่เสื่อมสภาพจะได้ทำการเปลี่ยนเพื่อป้องกันการเสียหายในอนาคต เช่น โอริงต่าง ๆ บวมแตก กรองในหัวฉีดเปลือยขาด ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้หัวฉีดอุดตันได้

เช็คสภาพหัวฉีด

ที่กิจจาออโตเช็คพอยท์ เราใช้เครื่อง Carbon Zapp GDU.2R ในการทดสอบหัวฉีด GDI โดยถอดหัวฉีดแต่ละหัวมาเช็คบนเครื่อง ซึ่งจะช่วยให้เราเห็นรูปแบบการฉีดของน้ำมันจากหัวฉีด ว่าเป็นฝอยละอองละเอียดดีอยู่ หรือว่าเริ่มมีเป็นหยดผิดปกติ การทดสอบสามารถทำให้เราทราบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในสภาวะรอบเครื่องต่าง ๆ ระดับ เพื่อวิเคราะห์การทำงานของหัวฉีด ว่าแต่ละหัวฉีดน้ำมันออกมาในปริมาณที่เหมาะสมหรือไม่ มีหัวใดที่ฉีดมากหรือน้อยกว่าปกติหรือไม่

เราทำอะไรบ้าง ?

  • เริ่มต้นด้วยการทำความสะอาดหัวฉีดด้วยเครื่อง Ultrasonic เป็นการล้างหัวฉีดทั้งภายนอก และภายในโดยการสร้างความถี่สูง+ความร้อน ในขณะที่มีการป้อนไฟเพื่อให้มีการยกเปิด-ปิดตลอดการล้าง
  • หลังจากนั้นจึงล้างภายในด้วยระบบแรงดันสูง มีการล้างหลายขั้นตอนจากรอบเดินเบา ไปถึงรอบเครื่องสูงๆ และการล้างสวนทิศทาง(Reverse Flush)
  • ขณะล้างสามารถเห็นรูปแบบสเปรย์การฉีดของหัวฉีดอย่างชัดเจน
  • วัดปริมาตรการฉีดตามสเปคเบอร์หัวฉีดจากโรงงานผู้ผลิต

ควรเช็คและล้างหัวฉีด GDI เมื่อไร ?

สามารถทำการบำรุงรักษาโดยการทำความสะอาดด้วยวิธีดังกล่าวทุก ๆ 50,000 กิโลเมตร เพื่อหัวฉีดที่มีสภาพพร้อมสำหรับการใช้งานอยู่เสมอ ทั้งยังช่วยประหยัดน้ำมัน และรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

อัตราค่าบริการ

  • เช็ค 500 บาท/หัว
  • เช็ค+ล้าง 800 บาท/หัว
บริการเช็คและล้างหัวฉีดคอมมอนเรล

เทคโนโลยีหัวฉีดคอมมอนเรล (Commonrail Injector) ได้พลิกโฉมรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลไปอย่างผิดหูผิดตา จากภาพลักษณ์เดิมที่เป็นเครื่องยนต์ที่มีเสียงดัง ควันดำ ออกตัวช้า เร่งไม่ทันใจ มาเป็นเครื่องยนต์ที่เงียบ ควันแทบจะไม่มี ทั้งออกตัวและอัตราเร่งก็ตอบสนองได้ดั่งใจ และที่สำคัญ เป็นระบบที่ประหยัดน้ำมันอย่างสุด ๆ ด้วย ระบบดีเซลคอมมอนเรล ใช่ว่าจะมีแค่ในรถกระบะ หรือ รถบรรทุกเท่านั้น แต่รถยนต์โดยสารยี่ห้อหรูอย่าง Benz และ BMW ก็มีด้วยเหมือนกัน ผู้ใช้หลายคนก็บอกว่าขับได้มันส์ไม่แพ้เครื่องยนต์เบนซินทั่วไป แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ของดี ก็ต้องการบำรุงรักษาที่ดีด้วยเช่นกัน

ทำไมจึงต้องบำรุงรักษาระบบหัวฉีดดีเซลคอมมอนเรล ?

ระบบหัวฉีดดีเซลคอมมอนเรลทำงานภายใต้แรงดันสูง ระหว่าง 1,000 – 1,800 บาร์ ชิ้นส่วนภายในตัวหัวฉีดเองมีขนาดเล็กและละเอียดอ่อน เข็มหัวฉีดจะถูกแรงดันน้ำมันยกเพื่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงผ่านรูฉีดน้ำมันขนาดเล็ก (ชนิดที่มองด้วยตาเปล่าแทบจะไม่เห็น) ขนาด 5 – 6 รู เพื่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นฝอยที่ละเอียดเพื่อการเผาไหม้ที่ดี จากสภาพการทำงานภายใต้แรงดันและอุณหภูมิจุดระเบิด/เผาไหม้สูงมาก คราบเขม่าคาร์บอนที่เกิดขึ้นอาจจะไปทำให้กลไกต่างขัดข้อง หรือ ไปอุดตันรูฉีดน้ำมันได้ นำมาซึ่งปัญหาต่าง ๆ เช่น กำลังเครื่องยนต์ที่ลดลง มีควันดำ เครื่องเดินสะดุด ไฟเช็คเครื่องยนต์ติด ฯลฯ

เช็คสภาพหัวฉีด

การถอดหัวฉีดมาเช็คบนเครื่อง Carbon Zapp จะช่วยให้เราเห็นรูปแบบการฉีดของน้ำมันจากหัวฉีด ว่าเป็นฝอยละอองละเอียดดีอยู่ หรือว่าเริ่มมีเป็นหยดผิดปกติ การทดสอบสามารถทำให้เราทราบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้และไหลกลับในสภาวะรอบเครื่องต่าง ๆ ระดับ เพื่อวิเคราะห์การทำงานของหัวฉีด ว่าแต่ละหัวฉีดน้ำมันออกมาในปริมาณที่เหมาะสมหรือไม่ มีหัวใดที่ฉีดมากหรือน้อยกว่าปกติหรือไม่ นอกจากนี้เราก็ยังสามารถดูระดับแรงดันที่หัวฉีดเริ่มทำงานได้ ซึ่งช่วยวิเคราะห์สภาพกลไกรของเข็มหัวฉีดได้อย่างชัดเจน

ล้างด้วยระบบ Ultrasonic

ในหลาย ๆ กรณี ที่เราพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหัวฉีดเหล่านี้ ถ้าอาการยังไม่รุนแรงมากถึงขนาดมีความเสียหายเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ภายในหัวฉีด เราอาจจะสามารถแก้ไขให้หัวฉีดกลับคืนสู่สภาพปกติใช้งานได้ ด้วยเพียงการล้างทำความสะอาดด้วยระบบ Molecular Activation Chemical Cleaning ซึ่งเป็นการใช้เคมีชะล้างภายในหัวฉีด และด้วยระบบ Ultrasonic ซึ่งจะใช้เคมีผสมกับระบบคลื่นอัลตราโซนิคในการทำความสะอาดรูฉีดน้ำมันและส่วนภายนอกของหัวฉีด

ควรเช็คและล้างหัวฉีดคอมมอนเรลเมื่อไร ?

ถ้าเราสามารถทำการบำรุงรักษาโดยการทำความสะอาดด้วยวิธีดังกล่าวทุก ๆ 50,000 กิโลเมตร เราก็จะมีหัวฉีดที่มีสภาพพร้อมสำหรับการใช้งานอยู่เสมอ เพื่อการขับขี่รถยนต์ที่มั่นใจ ประหยัดน้ำมัน และเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม

อัตราค่าบริการ

  • เช็คอย่างเดียว 500 บาท/หัว
  • เช็ค+ล้าง 800 บาท/หัว

***รับเฉพาะหัวฉีดที่ถอดมาแล้วเท่านั้น ไม่มีบริการถอดหัวฉีด***

บริการล้างหัวฉีดและระบบเชื้อเพลิง

หัวฉีดที่ผ่านการใช้งานมาระยะหนึ่งจะเกิดเขม่า และคราบยางเหนียวติดอยู่ที่บริเวณปลายหัวฉีด นอกจากนี้สิ่งสกปรกที่เข้ามาในตัวหัวฉีดเอง อันเนื่องมาจากน้ำมันเชื้อเพลิงที่สกปรก สิ่งเหล่านี้ทำให้การทำงานของหัวฉีดทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ การฉีดน้ำมันไม่เป็นฝอยละออง หรือมีการรั่วซึม แม้การเปิดของตัวหัวฉีดมีระยะเวลาปกติ แต่น้ำมันที่ถูกฉีดออกมาอาจมีปริมาณไม่พอดีกับที่เคยฉีดตามสเปคทำให้เครื่องยนต์แรงตก เวลาออกตัวเครื่องจะสั่น กินน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น เครื่องเดินไม่เรียบเพราะแต่ละสูบทำงานได้ไม่เท่ากัน ทำให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เกิดมลพิษสูง

การล้างระบบหัวฉีดและระบบเชื้อเพลิงด้วยเครื่อง Carbon Zapp CTU2200e

  • เริ่มด้วยการถ่ายน้ำมันออกจากระบบ ต่อเครื่องเข้าระบบจากนั้นจึงผสมน้ำมันกับ Cleaning Detergent ตามอัตราส่วนขึ้นอยู่กับขนาดเครื่องยนต์
  • จากนั้นก็เดินเครื่อง เครื่องจะทำการล้างระบบและหัวฉีดตามโปรแกรมใช้เวลาประมาณ 35 นาที
  • เสร็จจากนั้นก็ต่อระบบน้ำมันของรถเข้าตามเดิม ทำการเช็คระบบว่ามีการรั่วซึมหรือไม่
  • ทดสอบโดยการนำรถออกวิ่งประมาณ 10-15 นาที หรือ 5-10 กม.
  • เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องและไส้กรองเพื่อกำจัดนำยาล้างที่อาจติดค้างในระบบและปนเปื้อนกับน้ำมันเครื่อง ซึ่งอาจเป็นผลเสียกับอุปกรณ์ในระบบเป็นอันเสร็จพิธี

การล้างทั้งระบบ Vs การถอดออกมาล้าง

การล้างหัวฉีดและระบบเชื่อเพลิงเป็นการล้างหัวฉีดแบบ On-car คือ ไม่จำเป็นต้องถอดหัวฉีดออกมา เพียงแต่นำเครื่องต่อเข้ากับระบบฉีดเชื่อเพลิง ข้อดีคือสามารถล้างได้ทั้งระบบเชื้อเพลิง วาล์ว แหวน ลูกสูบ ห้องเผาไหม้ รวมทั้งหัวฉีดด้วย จึงเหมาะอย่างมากกับเครื่อง GDI เครื่องยนต์เบนซินทั่วไป และดีเซล ส่วนข้อเสียก็คือเราไม่สามารถทราบประสิทธิภาพ และข้อบกพร่องของหัวฉีดอย่างละเอียดเหมือนการล้างแบบถอด อย่างไรก็ตามการล้างแบบนี้เหมาะสำหรับการล้างแบบ preventive maintenance คือบำรุงรักษาก่อนที่สาเหตุจะเกิด เฉกเช่นเดียวกับการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุกๆระยะ

การล้างด้วยเครื่องต่างกับการใช้หัวเชื้อน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างไร ?

หัวเชื้อน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นน้ำยาล้างเข้มข้นมีคุณสมบัติในการล้างทั้งระบบ มักมาในรูปแบบขวดขนาดบรรจุต่างกันไปใช้ผสมลงในถังน้ำมันโดยตรงและอาศัยการทำงานโดยปกติของระบบเชื้อเพลิงรถยนต์ในการหมุนเวียนน้ำยาล้างเข้าไปทำความสะอาดชิ้นส่วนต่างๆภายในระบบ ขอเสียของวิธีนี้คือเราไม่สามารถควบคุมอัตราส่วนที่แน่นอนที่ผสมลงไป ถ้าใส่ลงไปในขณะที่เชื้อเพลิงมีน้อยก็จะเข้มข้นเกินไปซึ่งอาจกัดกร่อนชิ้นส่วนในระบบทำให้เกิดผลเสียต่ออุปกรณ์ที่อยู่ในถังน้ำมันบางชนิด หรือจางเกินไปในกรณีที่น้ำมันเชื้อเพลิงในระบบมีมาก ทำให้การล้างไม่ได้ผลทำให้เสียเงินไปฟรีๆไม่ได้ประโยชน์สูงสุด

ควรล้างหัวฉีดและระบบเชื้อเพลิงเมื่อไร ?

ถ้าเราสามารถทำการบำรุงรักษาโดยการทำความสะอาดด้วยวิธีดังกล่าวทุก ๆ 50,000 กิโลเมตร เราก็จะมีหัวฉีดที่มีสภาพพร้อมสำหรับการใช้งานอยู่เสมอ เพื่อการขับขี่รถยนต์ที่มั่นใจ ประหยัดน้ำมัน และเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม

*CTU2200eสามารถล้างได้ทั้งเบนซิน และดีเซล*

อัตราค่าบริการ

  • เริ่มต้นที่ 1,500 บาท (ไม่รวมน้ำมันเครื่องและไส้กรอง)
บริการเปลี่ยนน้ำมันคอมเพรสเซอร์แอร์

ทำไม่จึงต้องถ่ายน้ำมันคอมเพรสเซอร์ ? ผู้ใช้รถส่วนใหญ่มักไม่เคยนึกถึงการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันคอมเพรสเซอร์ เหมือนกับเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องรถยนต์ เหตุผลเพราะว่าโดยทั่วๆไปการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันคอมเพรสเซอร์เป็นงานยาก ใช้เวลานาน และค่าใช้จ่ายสูง อุปกรณ์ทุกชิ้นที่เกี่ยวข้องต้องถูกถอดออกมาเพื่อทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันคอมฯ ดังนั้นเราจึงมักจะใช้จนกว่าจะเกิดปัญหากับคอมฯ และมักจะลงเอยด้วยการเปลี่ยนคอมฯในที่สุด

บริการของเราคืออะไร ?

บริการของเราประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ

  • Flushing : เป็นการล้างเอาน้ำมันคอมฯทั้งหมดออกจากระบบ โดยขั้นตอนนี้สามารถดึงเอาน้ำมันคอมเพรสเซอร์ออกจากระบบได้ถึง 95 % น้ำมันเก่านี้จะพาสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่ในระบบออกมาด้วย
  • Recovery : เมื่อน้ำมันคอมฯเก่าถูกถ่ายออกมาหมดแล้ว ก็จะดูดน้ำยาแอร์เก่าที่อาจจะถูกความชื้นปนเปื้อนอยู่ออกจากระบบด้วย (ความชื้นในระบบเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการแอร์เย็นบ้าง ไม่เย็นบ้าง)
  • Vacuum : ขั้นตอนต่อไปคือการสร้างภาวะสุญญากาศในระบบเพื่อเป็นการกำจัดความชื้นซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการสร้างปัญหามากมายให้กับระบบแอร์
  • Charging : เติมน้ำยาแอร์ และน้ำมันคอมเพรสเซอร์กลับเข้าไปในระบบในปริมาณที่ถูกต้อง เหมาะสมกับระบบ โดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์สภาพแรงดัน และอุณหภูมิของระบบปรับอากาศ

จะเกิดอะไรขึ้น หากเราไม่บำรุงรักษาระบบแอร์ ?

  • น้ำมันคอมฯที่ไม่ได้ถูกเปลี่ยนถ่ายจะเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ ความสามารถในการหล่อลื่น และถ่ายเทความร้อนลดลง ทำให้ระบบไม่มีประสิทธิภาพ คอมฯทำงานหนัก และก่อความเสียหายให้กับส่วนประกอบอื่นๆ ของระบบ
  • น้ำยาแอร์ และความบริสุทธิ์ของน้ำยา มักเสื่อมสภาพลงเมื่อมีความชื้นมาปะปน และสูญเสียจากรอยรั่ว และการซึมผ่านผนังท่อต่างๆประมาณ 5-15 % ต่อปี เป็นสาเหตุให้คอมเพรสเซอร์เกิดความเสียหาย
  • การใช้น้ำยาแอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน(ร้านแอร์บางร้านอาจเติมน้ำยาแอร์ที่ปนเปื้อน ความชื้น, HC, R12/R22) ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายในระบบแอร์
  • เมื่อใช้บริการแอร์โดยทั่วๆไปซึ่งมีเครื่องมือไม่พียงพอ การเติมน้ำมันคอมฯกลับเข้าระบบจะใช้การประมาณ อาจทำให้น้ำมันคอมฯมากไปหรือน้อยไป ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงได้

การใช้บริการด้วยเครื่องฟอกน้ำยาแอร์ทั่วๆไปเพียงพอหรือไม่ ?

เครื่องฟอกน้ำยาแอร์ส่วนใหญ่สามารถดึงน้ำมันคอมฯออกจากระบบได้เพียง 20-30% ทำให้มีน้ำมันเก่าตกค้างในระบบบเป็นจำนวนมากพอสมควร ดังนั้นจึงยังควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันคอมฯทุกๆ 30,000 กม. หรือทุกๆ 2 ปี

อัตราค่าบริการ

  • 2800-3500 บาท
บริการวิเคราะห์เครื่องยนต์

บริการวิเคราะห์เครื่องยนต์ หรืออ่านโค้ด ด้วยเครื่อง G-Scan, ZENITH เครื่องสแกนรถยนต์ระดับมืออาชีพ ที่จะช่วยตรวจสอบระบบสมองกลและระบบควบคุมต่าง ๆ ในรถยนต์ของท่าน

ท่านเคยสงสัยไฟ check engine ที่สว่างติดขึ้นมาที่ dashboard ให้รำคาญสายตา หรือ ค้างคาใจว่า เกิดอะไรผิดปกติขึ้นกับรถของท่านหรือไม่ ? รถยนต์ในปัจจุบันได้รับประ โยชน์จากเทคโนโลยีชั้นยอดของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ โดยนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของระบบเครื่องยนต์ ซึ่งเซ็นเซอร์หลากหลายชนิดได้ถูกติดตั้งไว้ตามจุดสำคัญต่าง ๆ ของรถยนต์ เพื่อป้อนข้อมูลให้กับกล่อง ECU ซึ่งเปรียบเสมือนมันสมองที่คอยประมวลผลข้อมูลเหล่านั้น แล้วส่งคำสั่งไปยังอุปกรณ์ปฏิบัติงานต่าง ๆ เช่น คอยล์จุดระเบิด หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง ควบคุมให้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และ จุดระเบิด ในปริมาณและระยะเวลาที่สร้างประสิทธิภาพในการขับขี่ได้สูงสุด ควบคุมมลพิษให้อยู่ในระดับต่ำมาก และยังประหยัดน้ำมันกว่าเดิมอีกด้วย

OBD หรือ On-Board Diagnosis เป็นระบบที่รถยนต์ใช้ตรวจสอบตัวเองว่า การทำงานของเซ็นเซอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ยังปกติสมบูรณ์ดีอยู่ในเกณฑ์หรือไม่ ปัจจุบันได้รับการพัฒนามาเป็นยุคที่ 2 หรือเรียกกันว่า OBD II ถ้า ECUตรวจสอบระบบด้วยตัวเองแล้วพบข้อผิดปกติที่คลาดเคลื่อนไปจากที่ได้โปรแกรมเอาไว้ ก็จะส่งสัญญาณนั้นมาทางไฟเตือนที่หน้าปัดรถยนต์ หรือที่เราคุ้นเคยกันดีว่า ไฟ check engine และจะเก็บรหัสข้อบกพร่อง (DTC: Diagnostic Trouble Code) ไว้ในหน่วยความจำของ ECU

สำหรับผู้ใช้รถทั่วไป

ท่านสามารถนำรถของท่านมาให้เราตรวจสอบด้วยเครื่องสแกน G-Scan/ZENITH รุ่นใหม่ล่าสุดของเราเพื่ออ่านค่าความผิดปรติต่างๆของไฟ Check engine เพื่อหาสาเหตุความผิดปกติเบื้องต้นได้

สำหรับอู่ซ่อมรถยนต์

การซ่อมแซมรถสมัยปัจจุบัน ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่บางครั้งเราจำเป็นต้องถอดอุปกรณ์หรือเซ็นเซอร์บางอย่างออกมาตรวจสอบ เมื่อใส่กลับไปแล้ว ถึงแม้จะไม่ได้มีความบกพร่องใด ๆ กล่อง ECU ก็อาจจะตรวจสอบตัวเองแล้วไปพบอุปกรณ์/เซ็นเซอร์ที่เราถอดออกไปชั่วคราว และบันทึกเป็น CODE ค่าความบกพร่องไว้ในหน่วยความจำและแสดงออกมาค้างไว้ทางไฟ Check Engine เรามีบริการสแกนหาข้อบกพร่อง และบริการลบ Code ด้วยเครื่องสแกน G-Scan/ZENITH ที่ทันสมัย ซอฟท์แวร์ล่าสุด เพื่อช่วยท่านในการแก้ปัญหาได้ตรงจุด และประหยัดเวลา

อัตราค่าบริการ

  • เริ่มต้นที่ 500 บาท
บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง

น้ำมันหล่อลื่น เป็นหัวใจสำคัญในการบำรุงรักษารถยนต์ทั้งระบบ หน้าที่หลักของน้ำมันเครื่องคือหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆที่มีการเคลื่อนไหว ในระบบเครื่องยนต์ ลดแรงเสียดทาน ป้องกันการสึกหลอ ชะล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่เกิดจากการเผาไหม ช่วยในการรักษากำลังอัด และยังป้องกันสนิมและการกัดกร่อนของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ เมื่อใช้รถไปสักระยะหนึ่ง จะเกิดเขม่า ตะกอน คราบยางเหนียวต่าง ๆ ทำให้น้ำมันเครื่องหมดคุณภาพ และไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน

เพื่อให้รถยนต์ของท่านใช้งานได้อย่าเต็มประสิทธิภาพ การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันตามระยะเวลาที่กำหนด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยรักษาเครื่องยนต์และส่วนต่างๆ ให้สะอาด และช่วยยืดอายุการทำงานของเครื่องยนต์

ระยะการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง

  • น้ำมันเครื่องเกรดธรรมดา 5,000 กิโลเมตร
  • น้ำมันเครื่อง กึ่งสังเคราะห์ 7,500-8,000 กิโลเมตร
  • น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 10,000-15,000 กิโลเมตร

อัตราค่าบริการ

  • 100 บาท
  • **ฟรี เมื่อซื้อน้ำมัน**
ออกซิเจนเซ็นเซอร์

ออกซิเจนเซ็นเซอร์ เป็นอุปกรณ์ที่คอยตรวจจับระดับออกซิเจนที่หลงเหลือจากการเผาไหม้และส่งสัญญาณกลับไปยังกล่องสมองกล ECU ให้ปรับแต่งการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสม เพื่อประสิทธิภาพในการขับขี่ และช่วยประหยัดเชื้อเพลิงอีกด้วย
ออกซิเจนเซ็นเซอร์มีอายุการใช้งานประมาณ 80,000 กิโลเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพการขับขี่และการจารจรด้วย ถ้ามันเสีย ไฟหน้าปัด check engine ก็จะปรากฏขึ้นเตือนเรา แต่ถ้ามันเสื่อมสภาพไฟหน้าปัดอาจจะไม่เตือนและเราก็จะไม่รู้ตัวเพราะอัตราความสิ้นเปลืองน้ำมันที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นทีละนิดจนเราไม่ทันได้สังเกต

เราจำหน่ายออกซิเจนเซ็นเซอร์ WALKER OEM แบรนด์ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปจากประเทศสหรัฐอเมริกา ถูกผลิตขึ้นตรงตามสเปคของอุปกรณ์ดั้งเดิม และผ่านการทดสอบตามคุณสมบัติ ตามข้อกำหนด OEM มีมาตรฐานการผลิตในระดับสากล มีเครื่องหมายรับรอง เชื่อถือได้ในเรื่องของคุณภาพ และเป็นที่ไว้วางใจของผู้ใช้รถทั้งในยุโรป และเอเชีย

เราทำอะไรบ้าง ?

เมื่อท่านนำรถมาเปลี่ยนออกซิเจนเซ็นเซอร์กับเรา ขั้นตอนการทำงานของเราไม่ใช่แค่เปลี่ยนออกซิเจนเซ็นเซอร์ แต่เราตรวจสอบให้ทั้งก่อนและหลังการติดตั้งด้วยเครื่องสแกนวิเคราะห์รถยนต์ G-scan/ZENITH เพื่อให้มั่นใจว่า เซ็นเซอร์ที่ติดตั้งไปใหม่สามารถใช้งานได้ถูกต้องตามมาตรฐานดั้งเดิม ช่วยให้การขับขี่ที่เต็มประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง

ขั้นตอนการทำงาน

  • สแกนตรวจสอบเบื้องต้นเพื่อให้มั่นใจว่าออกซิเจนเซ็นเซอร์เสียหายจริง หรือสาเหตุจากอุปกรณ์อื่นๆ
  • ทำการวัดค่า ดูกราฟการทำงานขอออกซิเจนเซ็นเซอร์ทั้งก่อน และหลังการติดตั้งเซ็นเซอร์ตัวใหม่
  • ลบโคท DTC และสแกนใหม่อีกรอบ
  • เช็คไฟ MIL บนหน้าทัดรถยนต์

อัตราค่าบริการ

  • ค่าบริการถอดออกซิเจนเซ็นเซอร์ 300 บาท + ค่าออกซิเจนเซ็นเซอร์
ตรวจเช็คความสมบูรณ์ของเครื่องยนต์

รถของท่านมีปัญหาเหล่านี้หรือไม่ ?

รถกินน้ำมัน สตาร์ทติดยาก วิ่งอืด รอบสวิง เครื่องสั่น ไอเสียมีกลิ่นผิดปกติ ควันขาว ควันดำ น้ำมันเครื่องหาย ถ้ารถของท่านมีอาการเหล่านี้ อาจเป็นเพราะเครื่องยนต์ทำงานไม่สมบูรณ์

ที่กิจจาออโตเช็คพอยท์ เราให้บริการตรวจเช็คความสมบูรณ์ของเครื่องยนต์โดยช่างที่มีประสบการณ์ และเครื่องมือที่ทันสมัย

เราทำอะไรบ้าง ?

  • เช็คกำลังอัดกระบอกสูบ
  • ตรวจเช็คสภาพแบตเตอรี่,ไดชาร์จ, คอยล์จุดระเบิด, หัวเทียน
  • วัดระดับของเหลว
  • เช็คสภาพกรองอากาศ ทำความสะอาด

อัตราค่าบริการ

  • เริ่มต้นที่ 500 บาท